ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดีมั้ย
วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ผู้ประนีประนอมคดี
การไกล่เกลี่ยคดี
ผลการไกล่เกลี่ย
ข้อดีของการไกล่เกลี่ย
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล
ทางเลือกในการระงับข้อพิพาทชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย เป็นการยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเองโดยมีผู้ประนีประนอมเป็นคนกลางช่วยเหลือ
เสนอแนะ และหาทางออกให้การยุติหรือระงับข้อพิพาทให้แก่คู่ความ
ผู้ประนีประนอมคดี
เป็นบุคคลผู้ผ่านการอบรม
ฝึกกปฏิบัติ และผ่านการทดสอบในสาขาวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของศาลและวิธีการไกล่เกลี่ยคดี
เพื่อให้ได้ผู้ประนีประนอมที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ
มีประสบการณ์ พร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยเหลือเสนอแนะ
และหาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทในคดี
การไกล่เกลี่ยคดี
1. เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีแล้ว
ศาลจะกำหนดนัดไกล่เกลี่ยในวันเดียวกับวันนัดพร้อม /ชี้สองสถาน/สืบพยานโจทก์
2. เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ
ศูนย์ไกล่เกลี่ยจะจัดทำสำนวนไกล่เกลี่ยและเสนอศาลเพื่อตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
3.
คดีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การ แต่มาศาลในวันนัดศูนย์ไกล่เกลี่ยจะจัดทำสำนวนไกล่เกลี่ยและเสนอศาลเพื่อตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ผลการไกล่เกลี่ย
เมื่อคู่ความสามารถตกลงกันได้
โจทก์อาจขอถอนฟ้องหรือคู่ความอาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอม
หากคู่ความตกลงกันไม่ได้ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ข้อดีของการไกล่เกลี่ย
สะดวก รวดเร็ว ประหยัด
พึงพอใจและรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน