การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ความเป็นมา
การติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ภารกิจหลักที่สำคัญ 3 ประการ
ภารกิจที่ 1 การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ
ภารกิจที่ 2 การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ภารกิจที่ 3 การสร้างหลักประกันตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
การคุ้มครองพยานในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
ความเป็นมา
ประเทศไทยมีการพัฒนาและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ
ทั้งด้านนิติบัญญัติบริหารและตุลาการให้มีความก้าวหน้าตามลำดับ ตลอดจนให้มีความร่วมมือกับนานาประเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่างๆ
และโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้
ให้เกิดการปฏิบัติและให้องค์กรทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการนำมาบริหารจัดการ
เพื่อเป็นหลักประกันในสังคมให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 ตามการให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
รวมทั้งให้สิทธิประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
จัดตั้งขึ้นจากการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Department of Right and Liberties
Protection” มีชื่อย่อว่า “DRLP” ซึ่งเป็นองค์กรในการส่งเสริม
คุ้มครองและสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการ
และมีนวัตกรรมสู่ความเป็นสากล
การติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร เอ ชั้น 2
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210.
โทรศัพท์ 02 141-2838-99 หรือที่คลินิก ยุติธรรมจังหวัด
ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
การคุ้มครองพยานในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองพยาน
ดำเนินการคุ้มครองพยาน การจ่ายเงินค่าตอบแทนความเสียหายแก่พยานในคดีอาญา
และผู้ใกล้ชิดรวมทั้งวางระบบและยุทธศาสตร์การคุ้มครองพยานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง
โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลที่จะเป็นพยานในคดีอาญา
ว่าจะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย ได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควร
รวมทั้งได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม หากมีการข่มขู่ คุกคาม
โดยสามารถขอคุ้มครองพยานได้ทั้งมาตราการทั่วไปและมาตราการพิเศษ
การติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร เอ ชั้น 2
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210.
โทรศัพท์ 02 141-2941-65 หรือที่คลินิก ยุติธรรมจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
ภารกิจหลักที่สำคัญ 3 ประการ
ภารกิจที่ 1 การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ
ภารกิจที่ 2 การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ภารกิจที่ 3 การสร้างหลักประกันตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
ภารกิจที่ 1 การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ
เป็นการส่งเสริม ป้องกัน
และป้องกันสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกกระทำละเมิด
โดยการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้และการฝึกอบรมด้านเสรีภาพ
การส่งเสริมและพัฒนากลไก การระงับข้อพิพาทและการจัดการความขัดแย้ง
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
รวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ
ภารกิจที่ 2 การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
เป็นการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม
ด้วยการพัฒนาระบบ มาตรการและดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
โดยมีภารกิจดังนี้
1. การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
(ก) ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
(ข) รับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย
(ค) สนับสนุนเงินกองทุนยุติธรรม
เพื่อช่วยเหลือในกรณีฟ้องคดีแต่ไม่มีเงินชำระค่าธรรมเนียมศาล
กรณีจะฟ้องหรือถูกฟ้องคดีแต่ไม่มีเงินค่าทนายความเพื่อว่าความกรณีถูกจับแต่ไม่มีเงินที่จะใช้ประกันตัว
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
สนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากความเสียหายจากการกระทำผิดทางอาญา ปกครอง
หรือกระทำละเมิดที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
หรือกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
รวมทั้งสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม
(ง) ส่งเสริมสิทธิผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน ตามมาตรา 134/1
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน
ติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ ชั้น 15 อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02 502 8220-21 และ 02 502 8191
หรือที่คลินิก ยุติธรรมจังหวัด
ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
2.
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
พ.ศ. 2544
เพื่อรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ
ของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญาของผู้อื่น
โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้น
ซึ่งสามารถยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทนภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รู้ถึงการกระทำผิด
รวมทั้งการรับรองสิทธิในกรณีของบุคคลที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกดำเนินคดีอาญาโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี
หากปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้น
ว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
ซึ่งสามารถยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด
การติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร เอ ชั้น 2
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210.
โทรศัพท์ 02 141-2838-99 หรือที่คลินิก ยุติธรรมจังหวัด
ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
3. การคุ้มครองพยานในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองพยาน
ดำเนินการด้านคุ้มครองพยาน การจ่ายเงินค่าตอบแทนความเสียหายแก่พยานในคดีอาญา
และผู้ใกล้ชิดรวมทั้งวางระบบและยุทธศาสตร์การคุ้มครองพยานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง
โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลที่จะเป็นพยานในคดีอาญา
ว่าจะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย ได้รับค่าตอบแทนที่จะเป็นและสมควร
รวมทั้งได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม หากมีการข่มขู่ คุกคาม
โดยสามารถขอคุ้มครองพยานได้ทั้งมาตราการทั่วไปและมาตราการพิเศษ
การติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานคุ้มครองพยาน
เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร เอ ชั้น 6
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210.
โทรศัพท์ 02 141-2941-65 หรือที่คลินิก ยุติธรรมจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
ภารกิจที่ 3 การสร้างหลักประกันตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
การสร้างหลักประกันตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
เกิดขึ้นด้วยเหตุเมื่อประเทศไทย
ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 7 ฉบับ
ทำให้เกิดพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี
โดยสนธิสัญญาดังกล่าวถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยต้องยึดถือปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 82
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งพันธกิจหลักของสนธิสัญญา 4
ประการที่ต้องดำเนินการ คือ
1. การประกันให้เกิดสิทธิต่างๆ
ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา
2.
การปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามที่รับรองไว้ในสนธิสัญญาด้วยการก้าวหน้า
3. การเผยแพร่หลักการของสิทธิ
ตามสนธิสัญญานั้นให้กว้างขวาง
4. การเสนอรายงานประเทศเกี่ยวกับผลการปฏิบัติให้เกิดสิทธิและความก้าวหน้าต่อองค์กรตามสนธิสัญญา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
เลขที่ 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร เอ ชั้น 2, 3 และ
6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210.
โทรศัพท์ 02 141 2794 และ 02 141 2817-8